เบาะรองหลัง ยางพาราแท้ เอาไว้พิง รับรองไม่ปวดหลังเวลาทำงาน

ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังจากการนั่งเป็นเวลานาน บรรเทาออฟฟิศซินโดรม กลับด้านเบาะ ช่วยยืดเส้นหลังได้ดีมาก

ปัญหาหลักสำหรับชาวออฟฟิศที่มักเจอเป็นประจำคงจะหนีไม่พ้นการปวดเมื่อยตามร่างกาย การปวดหลัง เพราะต้องนั่งทำงานทั้งวัน หรือแม้แต่ในช่วงนั่งเรียนหรือจดจ่อกับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่นกัน ซึ่งอาการปวดเมื่อยนั้นอาจส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพทางกายและอาจส่งผลถึงสุขภาพทางใจด้วยเมื่อเกิด “ออฟฟิศซินโดรม” ดังนั้นการนั่งบนเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อสรีระร่างกายจึงถือเป็นทางออกที่ดีแต่ราคานั้นก็ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว จะดีกว่าไหม หากคุณมี เบาะรองหลัง แก้ปวดหลัง สำหรับนั่งทำงาน เพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม ออกแบบเข้ากับสรีระของร่างกายเพื่อลดอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี

ทำไมถึงต้องใช้ เบาะรองหลัง

เพราะการนั่งเป็นเวลานานส่งผลเสียทางตรงและทางอ้อมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพอย่างออฟฟิศซินโดรมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพใจได้ จะดีกว่าไหม หากคุณป้องกันปัญหาเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที ด้วย เบาะรองหลังทำงาน ที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายขึ้น นั่งได้แบบไม่ปวดเมื่อยอีกต่อไป ออกแบบมาเพื่อกระจายน้ำหนักเข้ากับสรีระร่างกาย หมดปัญหาปวดหลัง ปวดบ่า ปวดคอจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน

เบาะรองหลัง แก้ปวดหลัง ที่แนะนำ

เบาะรองหลังยางพารา รุ่น Soft-Full เป็นเบาะรองหลังตามหลักการยศาสตร์ขนาด “ใหญ่เต็มแผ่นหลัง” เนื้อยางจะฟูๆ นุ่มๆ กระจายน้ำหนักและลดแรงกดทับ  เพื่อความสบายในการนั่ง ดีไซด์เบาะโค้งเว้ารองรับแผ่นหลังได้ทั้งหลังส่วนบนและหลังส่วนล่างจนถึงช่วงเอว  ช่วยปรับสรีระกระดูกสันหลัง   กล้ามเนื้อหลังและสะโพกให้อยู่ในท่านั่งที่ถูกต้อง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น อันเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยเอว หลัง คอ บ่า   ไหล่หรือออฟฟิศซินโดรม เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดเมื่อยหลังขณะนั่งนานๆ ไม่ว่าจากการทำงาน  หรือขับรถ ปลอกหุ้มเบาะฯ ตัดเย็บด้วยผ้าตาข่าย ระบายอากาศได้ดีเย็นสบาย ไม่อับชื่น และทำความสะอาดง่าย น้ำหนักเบา มีหูหิ้วพกพาสะดวก  สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ง่าย หรือนำไปซักในเครื่องซักผ้าได้ทั้งชิ้น

ผลงานวิจัยร่วมกับม.เกษตรศาสตร์ ศรีราชา ถ้าวางตามรูปทรงของเบาะ   ช่วยรองรับสรีระการนั่งตามหลัก Ergonomic แต่ถ้าวางกลับด้านเบาะบนลงล่าง จะกลายเป็นอุปกรณ์เสริม ช่วยยืดเส้นหลัง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ได้ดี

เบาะรองหลัง ทำงาน ของเราดีอย่างไร?

  • เบาะรองหลังเพื่อสุขภาพผลิตจากยางพาราธรรมชาติ 100 %
  • เหมาะสำหรับเก้าอี้ทำงาน เก้าอี้ทั่วไป และเบาะรถยนต์
  • ตัวเบาะโค้งนูนเพื่อรองรับสรีระของแผ่นหลังจนถึงช่วงเอวเพื่อลดอาการปวดเมื่อย และแก้ปวดหลัง
  • มีความยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระ อายุการใช้งานทนทานนาน 5-10 ปี
  • กระจายน้ำหนักลดแรงกดทับได้ดี ลดอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่
  • ระบายความร้อนได้ดี
  • มีหูหิ้ว น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
  • ปลอกเป็นผ้าตาข่าย ระบายอากาศได้ดี เย็นสบายไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย

รีวิว เบาะรองหลัง รุ่น Soft-Full ตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

  • เบาะรองหลัง ทำจากยางพาราแท้ ช่วยให้นั่งสบายมากยิ่งขึ้น สัมผัสได้จากการใช้จริง
  • เป็นยางพาราที่ทำให้นั่งสบาย ไม่ปวดหลังอีกต่อไป
  • เป็นเบาะยางพาราที่เดียวในประเทศไทยที่ทำให้นั่งสมาธิแล้วรู้สึกสบายมากๆนั่งได้นานขึ้นอาการเหน็บชาน้อยลงและรองรับน้ำหนักได้ดียืดหยุ่นราคาถูกมากๆเมื่อเทียบกับคุณสมบัติของยางพาราที่ได้รับ เป็นอะไรที่เหมาะกับบ้านเราระบายความร้อนได้ดีเวลานั่งนานๆแถมผ้ายังกันฝุ่นกันน้ำอีก
  • วัสดุจากยางพาราเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่าวัสดุอื่น ๆ ทำให้รองรับและกระจายน้ำหนักได้ดี ป้องกันการปวดเมื่อยได้จริง
  • วัสดุจากยางพารามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 10-20 ปี และคงสภาพเดิม ไม่ยุบตัวเหมือนวัสดุอื่น ๆ ใครที่นั่งทำงานนาน ๆ ไม่ควรพลาด

การใช้งาน

  • วางเบาะรองหลังเพื่อสุขภาพไก่กาให้ตั้งฉากชิดกับพนักเก้าอี้หรือเบาะรถยนต์
  • ใช้สายรัดที่มาพร้อมเบาะรองหลังฯ รัดกับเก้าอี้ให้พอดี
  • ทดลองนั่งและขยับให้สรีระของท่านอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับเบาะนั่ง โดยให้ส่วนโค้งตรงกลางเบาะตรงกับบริเวณเอว

Tips : ท่านสามารถใช้เบาะรองหลังฯ เป็นเบาะนวดได้ โดยการสลับตัวเบาะด้านล่างขึ้นมาด้านบน แล้วขยับพิงย้ำๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง

วิธีการดูแลรักษา

เบาะรองนั่งนั้นมีปลอกที่มีซิป ทำให้สามารถถอดปลอกออกมาซักได้ เบาะยางพาราสามารถทำความสะอาดได้ง่ายด้วยการซักด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่อเพิ่มความหอม โดยนำเบาะฯ ใส่ถุงซักผ้าแล้วนำเข้าเครื่องซักผ้า ปั่นแห้ง แล้วนำเบาะฯ มาผึ่งในที่ร่ม ลมพัดผ่าน ห้ามตากแดดโดยตรงเนื่องจากจะทำให้ยางเสื่อมสภาพ

เบาะรองหลัง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม เพื่อสุขภาพของคุณ

แม้ออฟฟิศซินโดรมนั้นจะสามารถรักษาได้ในทางการแพทย์ แต่คงจะไม่ดีนักหากคุณต้องเป็นออฟฟิศซินโดรมในช่วงเวลาเร่งรีบ หรือคงไม่มีใครอยากเป็นอย่างแน่นอน เพราะทำให้เสียเวลา เสียเงิน เสียสุขภาพกายและใจ ดังนั้น การป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ย่อมดีกว่าปล่อยให้เป็นแล้วจึงแก้ไข ให้ เบาะรองหลัง แก้ปวดหลัง กันดีกว่า เพื่อสุขภาพของคุณ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาหมอ หมดกังวลเรื่องปวดเมื่อยระหว่างทำงานได้เป็นอย่างดี

และที่สำคัญ เบาะรองหลังของเรายังผลิตจากยางพาราธรรมชาติ 100% ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยุบตัว อายุการใช้งานสูง ซื้อครั้งเดียว ประหยัดเงินได้ถึง 10-20 ปี กันเลยทีเดียว อย่าปล่อยให้การปวดเมื่อยเป็นปัญหากวนใจ ใช้ เบาะรองหลัง มาเป็นตัวช่วยที่ดีกันดีกว่า สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะซื้อ เบาะรองหลังเพื่อสุขภาพ ยี่ห้อไหนดี ขอแนะนำ เบาะรองหลังยางพารา รุ่น Soft-Full รับรองไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน

เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ตัวช่วย เพื่อคนที่คุณรัก

เบาะยางลาดเอียง 45 องศา ป้องกันการพลิกลับ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดบวม ไม่เกิดแผลกดทับ ปลอกผ้ากันน้ำ 100% ทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก

เชื่อว่าการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตัวเอง หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาที่จะตามมามักจะเป็นแผลกดทับ ที่เกิดจากการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนทำให้ผิวหนังในส่วนที่กดทับตาย และเป็นแผลยากที่จะรักษา และคุณทราบหรือไม่ว่า แผลกดทับนั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้แผลติดเชื้อจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องหมั่นพลิกตะแคงเปลี่ยนด้านอย่างสม่ำเสมอ ขอแนะนำเครื่องทุ่นแรงสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วย เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ซึ่งเป็น นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ ได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลิกกลับ และยังช่วยให้ผู้ดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

แผลกดทับคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้เบาะพลิกตัว?

แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับเป็นเวลานาน เช่น นอนท่าเดิมติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งท่าเดิมนาน ๆ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดเนื้อตายและแผลขึ้น มักจะพบแผลกดทับได้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น

แผลเกิดทับเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลัก ๆ ของแผลกดทับนั้น แน่นอนว่าเป็นการกดทับบริเวณเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้แก่

  • นอนติดเตียงตลอดเวลา หรือนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
  • ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำและอาหาร
  • โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม

อันตรายที่เกิดจากแผลกดทับ

แผลกดทับนั้นถือว่าเป็นบาดแผลที่อันตรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลกดทับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งระยะแรกนั้น ที่ผิวหนังจะมีรอยแดง ใช้มือกดแล้วแต่รอยแดงนั้นไม่ได้จางหายไป ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเสียกายเป็นบางส่วน จากนั้นแผลจะเริ่มลึกถึงชั้นไขมัน ทำให้สูญเสียผิวหนังทั้งหมด หรือผิวหนังตาย ท้ายที่สุดก็จะอาจจะส่งผลให้แผลลึกเห็นถึงกระดูกได้

อาการของแผลกดทับ

อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้มากนั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรง ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ส่วนผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ก้น หลังแขน หลังต้นขา หรือด้านหลังของกระดูกสะโพก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ ทั้งนี้ อาการของแผลกดทับจะรุนแรงขึ้นตามระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 แผลกดทับระยะนี้จะไม่เปิดออก มีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อกดลงไปบนแผล แผลจะไม่กลายเป็นสีขาว

ระยะที่ 2 แผลกดทับระยะนี้เป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น

ระยะที่ 3 แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก ซึ่งอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย

ระยะที่ 4 แผลกดทับระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis) กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายด้วย

การรักษาแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับนั้น มีวิธีการที่หลากหลาย โดยหัวใจสำคัญของการรักษานั้น คือการลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีการรักษานั้น ได้แก่

  1. ลดแรงกดทับ โดยปกติแล้วนั้น ผู้ดูแลมักจะมีตารางเวลาในการพลิกตะแคงผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นเวลา โดยการจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคง ควรจะท่าให้นอนที่ 30-45 องศา และใช้หมอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา
  2. ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  3. การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  4. การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป
  5. ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
  6. ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย
  7. การดูแลอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด โภชนากร และศัลยแพทย์ตกแต่ง

ผู้ป่วยแผลกดทับอาจได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาแก้ปวดเฉพาะที่ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดเฉพาะที่หรือยาบรรเทาอาการปวดที่ไม่ผสมสารสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน
  • อาหารเสริม แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โปรตีน สังกะสี และวิตามิน เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับที่ผิวหนังได้ง่าย
  • การผ่าตัด ผู้ป่วยแผลกดทับที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายตนเองมาปิดแผลและใส่รองกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับจนยากที่จะรักษา เบาะพลิกตัว จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล อีกทั้งผู้ป่วยที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่บนเตียงก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง ป้องกันการนอนหรือกดทับเป็นเวลานาน ๆ ในบริเวณเดิม ๆ จนเกิดแผลกดทับได้

นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ

นวัตกรรมแผ่นยางทรงสามเหลี่ยม สโลปลาดลงด้านหน้า 30 องศา ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ ใช้สำหรับรองหลังผู้ป่วยติดเตียงให้สามารถพลิกตัวนอนตะแคงได้แล้วไม่พลิกย้อนกลับทางเดิมซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลกดทับ เพราะนอนท่าเดิมหรือทางเดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังช่วยทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก ผ่อนแรงผู้ดูแลได้เป็นอย่างมาก

เบาะดันหลัง นอนตะแคง ป้องกันแผลกดทับ ดีอย่างไร?

  • ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ แข็งแรง ทนทาน
  • ใช้สำหรับรองข้อมือ เท้า หรือหลังผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง และป้องกันการพลิกกลับ
  •  ช่วยลดแรงกดทับและช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอนหรือนั่งบนเตียงในท่าเดิมนาน ๆ
  • ช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล เบาแรง
  • ปลอกเบาะพลิกตัวเป็นผ้าทอแบบพิเศษ มีความแข็งแรง ทนทาน กันน้ำได้ 100%
  • เบาะสามารถระบายอากาได้ดีศ ไม่ร้อน, ไม่ก่อให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอับชื้นทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • มีซิปช่วยให้ถอดซักทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  • มีหูหิ้ว สามารถพกพา หรือเก็บได้สะดวก

เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ เพื่อคนที่คุณรัก

เพราะแผลกดทับนั้นอันตรายถึงชีวิตได้หากแผลเกิดการติดเชื้อขึ้น ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงมีตารางเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการกดทับที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น ก้นกบ หลัง ข้อเท้า ฯลฯ ดังนั้น เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพลิกตัวกลับมานอนท่าเดิม และยังช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลอีกด้วย ซึ่งเบาะดันหลังนั้นผลิตจากยางพาราธรรมชาติแท้ ออกแบบให้สโลปลดลงด้านหน้า 30 องศา สำหรับดันหลัง รองขา เป็นต้น และยังมีหูหิ้ว ขนย้ายได้สะดวก พร้อมกับซิปเพื่อถอดทำความสะอาด ป้องกันการเกิดเชื้อราและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบางปะกอก / โรงพยาบาลกรุงเทพ