เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ตัวช่วย เพื่อคนที่คุณรัก

เบาะยางลาดเอียง 45 องศา ป้องกันการพลิกลับ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดบวม ไม่เกิดแผลกดทับ ปลอกผ้ากันน้ำ 100% ทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก

เชื่อว่าการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตัวเอง หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาที่จะตามมามักจะเป็นแผลกดทับ ที่เกิดจากการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนทำให้ผิวหนังในส่วนที่กดทับตาย และเป็นแผลยากที่จะรักษา และคุณทราบหรือไม่ว่า แผลกดทับนั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้แผลติดเชื้อจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องหมั่นพลิกตะแคงเปลี่ยนด้านอย่างสม่ำเสมอ ขอแนะนำเครื่องทุ่นแรงสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วย เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ ซึ่งเป็น นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ ได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยพลิกกลับ และยังช่วยให้ผู้ดูแลทำความสะอาดผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

แผลกดทับคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้เบาะพลิกตัว?

แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับเป็นเวลานาน เช่น นอนท่าเดิมติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งท่าเดิมนาน ๆ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดเนื้อตายและแผลขึ้น มักจะพบแผลกดทับได้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น

แผลเกิดทับเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลัก ๆ ของแผลกดทับนั้น แน่นอนว่าเป็นการกดทับบริเวณเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้แก่

  • นอนติดเตียงตลอดเวลา หรือนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
  • ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำและอาหาร
  • โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม

อันตรายที่เกิดจากแผลกดทับ

แผลกดทับนั้นถือว่าเป็นบาดแผลที่อันตรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลกดทับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งระยะแรกนั้น ที่ผิวหนังจะมีรอยแดง ใช้มือกดแล้วแต่รอยแดงนั้นไม่ได้จางหายไป ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเสียกายเป็นบางส่วน จากนั้นแผลจะเริ่มลึกถึงชั้นไขมัน ทำให้สูญเสียผิวหนังทั้งหมด หรือผิวหนังตาย ท้ายที่สุดก็จะอาจจะส่งผลให้แผลลึกเห็นถึงกระดูกได้

อาการของแผลกดทับ

อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้มากนั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรง ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ส่วนผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ก้น หลังแขน หลังต้นขา หรือด้านหลังของกระดูกสะโพก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ ทั้งนี้ อาการของแผลกดทับจะรุนแรงขึ้นตามระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 แผลกดทับระยะนี้จะไม่เปิดออก มีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อกดลงไปบนแผล แผลจะไม่กลายเป็นสีขาว

ระยะที่ 2 แผลกดทับระยะนี้เป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น

ระยะที่ 3 แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก ซึ่งอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย

ระยะที่ 4 แผลกดทับระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis) กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายด้วย

การรักษาแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับนั้น มีวิธีการที่หลากหลาย โดยหัวใจสำคัญของการรักษานั้น คือการลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีการรักษานั้น ได้แก่

  1. ลดแรงกดทับ โดยปกติแล้วนั้น ผู้ดูแลมักจะมีตารางเวลาในการพลิกตะแคงผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นเวลา โดยการจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคง ควรจะท่าให้นอนที่ 30-45 องศา และใช้หมอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา
  2. ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  3. การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  4. การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป
  5. ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
  6. ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย
  7. การดูแลอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด โภชนากร และศัลยแพทย์ตกแต่ง

ผู้ป่วยแผลกดทับอาจได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาแก้ปวดเฉพาะที่ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดเฉพาะที่หรือยาบรรเทาอาการปวดที่ไม่ผสมสารสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน
  • อาหารเสริม แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โปรตีน สังกะสี และวิตามิน เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับที่ผิวหนังได้ง่าย
  • การผ่าตัด ผู้ป่วยแผลกดทับที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายตนเองมาปิดแผลและใส่รองกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับจนยากที่จะรักษา เบาะพลิกตัว จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล อีกทั้งผู้ป่วยที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่บนเตียงก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง ป้องกันการนอนหรือกดทับเป็นเวลานาน ๆ ในบริเวณเดิม ๆ จนเกิดแผลกดทับได้

นวัตกรรม หมอนรอง สำหรับรองหลัง ป้องกัน แผลกดทับ

นวัตกรรมแผ่นยางทรงสามเหลี่ยม สโลปลาดลงด้านหน้า 30 องศา ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ ใช้สำหรับรองหลังผู้ป่วยติดเตียงให้สามารถพลิกตัวนอนตะแคงได้แล้วไม่พลิกย้อนกลับทางเดิมซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลกดทับ เพราะนอนท่าเดิมหรือทางเดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังช่วยทำความสะอาดผู้ป่วยได้สะดวก ผ่อนแรงผู้ดูแลได้เป็นอย่างมาก

เบาะดันหลัง นอนตะแคง ป้องกันแผลกดทับ ดีอย่างไร?

  • ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ แข็งแรง ทนทาน
  • ใช้สำหรับรองข้อมือ เท้า หรือหลังผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง และป้องกันการพลิกกลับ
  •  ช่วยลดแรงกดทับและช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอนหรือนั่งบนเตียงในท่าเดิมนาน ๆ
  • ช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล เบาแรง
  • ปลอกเบาะพลิกตัวเป็นผ้าทอแบบพิเศษ มีความแข็งแรง ทนทาน กันน้ำได้ 100%
  • เบาะสามารถระบายอากาได้ดีศ ไม่ร้อน, ไม่ก่อให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอับชื้นทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • มีซิปช่วยให้ถอดซักทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  • มีหูหิ้ว สามารถพกพา หรือเก็บได้สะดวก

เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ เพื่อคนที่คุณรัก

เพราะแผลกดทับนั้นอันตรายถึงชีวิตได้หากแผลเกิดการติดเชื้อขึ้น ผู้ดูแลส่วนใหญ่จึงมีตารางเวลาในการพลิกตัวผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดการกดทับที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น ก้นกบ หลัง ข้อเท้า ฯลฯ ดังนั้น เบาะดันหลัง ป้องกันแผลกดทับ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพลิกตัวกลับมานอนท่าเดิม และยังช่วยผ่อนแรงผู้ดูแลอีกด้วย ซึ่งเบาะดันหลังนั้นผลิตจากยางพาราธรรมชาติแท้ ออกแบบให้สโลปลดลงด้านหน้า 30 องศา สำหรับดันหลัง รองขา เป็นต้น และยังมีหูหิ้ว ขนย้ายได้สะดวก พร้อมกับซิปเพื่อถอดทำความสะอาด ป้องกันการเกิดเชื้อราและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบางปะกอก / โรงพยาบาลกรุงเทพ

BUBBLE ที่นอนป้องกันแผลกดทับ สินค้าขายดีอันดับ 1

ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ช่วยป้องกันเชื้อโรคขนาดเล็ก และลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ อย่างได้ผล ไม่ก่อให้เกิดการอับเชื้อและลดการติดเชื้อ ระบายอากาศได้ดี หุ้มผ้าป้องกันน้ำ กันไรฝุ่น เช็ด/ล้าง/ซัก ทำความสะอาดได้ง่าย

นวัตกรรมใหม่ ที่นอนยางพาราแท้ จากธรรมชาติ 100% สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ที่นอนป้องกันแผลกดทับ นอนสบาย กระจายน้ำหนัก พร้อมทั้งระบายอากาศได้ดี ลดกลิ่นอับไม่พึ่งประสงค์ ใช้งานได้ยาวนานมากถึง 10 ปี คุ้มค่ากับราคา ยิ่งซื้อเยอะ ราคายิ่งถูก ได้ที่นอนคุณภาพดี ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าขายดีอันดับ 1 ที่หลายบ้านเลือกใช้

ที่นอน BUBBLE ที่ออกแบบมาอย่างดี ให้พอดีกับเตียงผู้ป่วย สามารถโค้งงอได้ตามรูปเตียง และยิ่งไปกว่านั้น ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยที่ใช้ได้ สำหรับผู้สูงอายุ หรือสำหรับคนที่ชอบนอนท่าเดิม ไม่เปลี่ยนท่านอน ก็สามารถใช้ได้ ที่นอนยางพารา ผลิตมาจากธรรมชาติ 100% ด้านล่างถูกออกแบบให้เป็นรูปทรงกลม วางเรียงกันอย่างสม่ำเสมอ ช่องว่างระหว่างรูปทรงกลม ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ พร้อมทั้งกระจายน้ำหนักและลดแรงกดทับในบริเวณจุดใดจุดหนึ่ง ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เวลาเรานอนนานๆ และยังช่วยให้คนที่นอนหลับยาก นอนได้ง่ายขึ้น มีความรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ทุกครั้งที่สัมผัสกับที่นอน

ทำไมต้องที่นอน BUBBLE ดีอย่างไร?

  • ที่นอนยางพาราป้องกันแผลกดทับ ผลิตจากยางพาราธรรมชาติ 100 %
  • นวัตกรรมการออกแบบให้สามารถกระจายน้ำหนักและระบายอากาศได้ดีกว่าเดิม
  • รูปทรงใหม่ให้ความยืดหยุ่นสูง นอนสบายลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการนอนนานๆ
  • เทคโนโลยี Nana Zinc Oxide ลดโอกาสเกิดการอักเสบของผิวหนัง ไม่มีเชื้อรา แบคทีเรียและไรฝุ่น
  • ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วยด้วย Activated Carbon
  • สบายผิว มีร่องระหว่างปุ่ม ช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าที่นอนแผ่นเรียบ
  • เหมาะสำหรับคนที่ชอบนอนท่าเดิมเป็นเวลานานๆ
  • เป็นที่นอนเพื่อสุขภาพ ช่วยถนอมผิวผู้สูงอายุและผู้ป่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับได้อย่างแท้จริง
  • ออกแบบให้พอดีกับเตียงผู้ป่วย สามารถโค้งงอได้ตามรูปเตียงขณะที่ปรับท่าต่างๆ
  • กระจายน้ำหนักลดแรงกดทับได้ดีกว่าเดิม ทำให้เลือดลมหมุนเวียนสะดวกลดโอกาสเกิดแผลกดทับ
  • คุ้มค่า คุ้มราคา อายุการใช้งานยาวนาน 5 –10 ปี
  • น้ำหนักเบา ช่วยผ่อนแรงผู้ดูแล
  • ทำความสะอาดง่าย ถอดซักสะดวก ซักได้ทั้งมือและเครื่องซักผ้า
  • ปลอกเป็นผ้ากันน้ำกันไรฝุ่น เนื้อผ้าเรียบลื่นเย็นสบายไม่อับชื้น ทำความสะอาดง่าย
  • ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ   

ที่นอนมาพร้อมคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ ตามความต้องการผู้ใช้ เป็นที่นอนที่ได้รับการยอมรับ ใช้แล้วดีจริง ยิ่งกับผู้สูงอายุแล้ว และผู้ป่วยติดเตียง ที่นอน BUBBLE เหมาะมาก เพราะถูกออกแบบมาเพื่อเป็นที่นอนป้องกันแผลกดทับโดยเฉพาะ มั่นใจได้ยิ่งขึ้น เพราะได้ผ่านการทำวิจัยกึ่งทดลอง ลองใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพึงพอใจ ผู้ป่วยมีสุขลักษณะที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ใช้แล้วดีต่อสุขภาพแน่นอน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จากยางพารา เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคนที่คุณรักกันเถอะค่ะ เพราะสุขภาพที่ดี ไม่จำเป็นต้องสร้างจากที่อื่น เริ่มได้จากที่บ้านคุณได้เลย

ที่นอน ผลิตภัณฑ์จากยางพารา เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่?

ปัจจุบันมีการผลิตที่นอนมาจากวัสดุที่หลากหลายรูปแบบ คุณเองคงเคยได้ยิน ที่นอนสปริง เมื่อก่อนนั้นที่นอนสปริงได้รับความนิยมมาก แต่ก็ส่งผลเสียตามมาที่หลัง ทั้งปวดเมื่อยบ้าง หลายคนมักเจออาการเหล่านี้ และต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพารา ให้คนได้เลือกใช้ ตามความชอบ ซึ่งที่นอนยางพาราตอบโจทย์ ถือเป็นโครงสร้างที่ดีที่สุด สำหรับโครงสร้างที่นอน เนื่องจากยางพารามีความนุ่ม ยืดหยุ่นได้ตามธรรมชาติ พร้อมทั้งระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ Memory Foam เพราะที่นอนยางพาราสามารถปรับให้เข้ากับรูปร่างของคุณ รองรับส่วนโค้งตามธรรมชาติของร่างกาย  ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายเวลานอน และยังช่วยลดแรงกดทับ เหมาะมากสำหรับคนที่รักสุขภาพ

ทำไมที่นอนยางพาราเป็นที่นอนเพื่อสุขภาพ

จุดขายที่โดดเด่นของยางพารานั่นคือ สุขภาพดี น้ำยางธรรมชาติคือน้ำยางที่เข้มข้น มีความปลอดภัยในการนอน และมีความทนต่อไฟมากกว่าที่นอนประเภทอื่น กว่าจะมาเป็นที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพนั่น ได้ผ่านขั้นตอนและกระบวนการหลายขั้นตอน ทำให้ที่นอนยางพารามีความทนมากกว่าเดิม นอกจากความทนแล้ว คุณสมบัติของยางพาราก็ขึ้นชื่อในเรื่องสุขภาพ เพราะมีความยืดหยุ่น เป็นธรรมชาติ ปรับรูปทรงตามสรีระ ทำให้สุขภาพดีขึ้นเรื่อยๆ

ที่นอนยางพารา ดีสำหรับอาการปวดหลังด้วยหรือไม่

เนื่องจากที่นอนยางพาราไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป สามารถรองรับกระดูกสันหลังและลำตัวได้ตามปกติ อย่างเป็นธรรมชาติ นี่คือเหตุผลว่าทำไมที่นอนยางพาราจึงสบายสำหรับกระดูกสันหลังของคุณ ดังนั้นจึงช่วยได้ถ้าคุณมีอาการปวดหลัง

ทำไมที่นอนยางพารา ถึงมีราคาค่อนข้างสูง

กว่าจะได้เป็นที่นอนยางพารา ต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการเพื่อให้ได้น้ำยางธรรมชาติต้องใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้ที่นอนยางพาราธรรมชาติมีราคาแพง การซื้อที่นอนยางพาราธรรมชาติมีประโยชน์มากมาย แต่ประโยชน์เหล่านั้นมาพร้อมกับการแลกกับราคาที่สูงกว่า แต่ผลรับที่คุณได้คุ้มค่าเกินราคาค่ะ

ความรู้สึกเมื่อได้นอนที่นอน BUBBLE เป็นอย่างไร

ที่นอนยางพาราจะรองรับสรีระของร่างกายและให้การรองรับแบบลอยตัว ซึ่งตอบสนองต่อรูปร่างของคุณ  เวลานอนบนที่นอนยางพารา คุณจะรู้สึกได้ถึงการรองรับที่นุ่มนวลตลอดเวลา พร้อมกับการบรรเทาแรงกดทับที่ผ่อนคลาย คุณจะไม่จมลงไปในที่นอนมากเกินไป ดังนั้นคุณจึงรักษาการรองรับที่เหมาะสมไว้เสมอ ทำให้เวลานอนผ่อนคลายยิ่งขึ้น หลับสบายมากขึ้น

หากคุณแพ้ยางพาราธรรมชาติ สามารถนอนบนที่ยางพาราได้หรือไม่

หากคุณมีความรู้สึกไวต่อยางธรรมชาติอย่างรุนแรงหรือมีปัญหาการแพ้  เช่น หายใจลำบาก บวมที่ผิวหนัง ในการตอบสนองต่อยางพารา เราไม่แนะนำให้นอนที่นอนยางพารา ไม่ว่าจะเป็นหมอน ที่นอน หากใครมีอาการแพ้ที่เป็นอันตราย ไม่ควรนอนทับบนยางพารา

ที่นอนยางพารา ทำให้คุณป่วยได้ไหม

ถึงแม้ว่าที่นอนที่ทำมาจากยางพาราจะเป็นที่นอนเพื่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคนเสมอไป เพราะบางคนนั้นมีอาการแพ้ยางพาราก็มี และในขณะที่บางคนพบว่าได้กลิ่น “ยาง” ที่ไม่พึงประสงค์เล็กน้อยเมื่อเปิดที่นอนยางพาราตัวใหม่ ไม่ต้องตกใจนะค่ะ ปกติน้ำยางมีกลิ่นค่อนข้างฉุน แต่เมื่อผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ทำให้กลิ่นเบาบางลงได้ แต่ก็คงยังได้กลิ่นอยู่ เนื่องจากที่นอนทำมาจากยางพาราธรรมชาติ 100% ที่นอนยางพาราธรรมชาติไม่ทำให้คุณป่วย  เว้นแต่คุณจะสัมผัสโดยตรงกับน้ำยางและมีอาการแพ้ยาง

ทำไมที่นอนยางพาราถึงมีกลิ่น

กลิ่นที่นอนยางพารา เฉพาะที่นอนยางสังเคราะห์และที่นอนยางผสมเท่านั้นที่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งเกิดจากวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้ทำที่นอน กลิ่นเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่าการปิดแก๊ส ซึ่งหมายความว่าสารเคมีที่ใช้ทำที่นอนจะปล่อยไปในอากาศทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

วิธีง่ายๆ ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของที่นอนยางพารา

สำหรับใครที่ไม่ชอบกลิ่นที่ติดมากับที่นอนยางพารา เรามีวิธีง่ายๆ ไม่ทำให้กลิ่นยางพารารบกวนมาฝากกันค่ะ ด้วยการดึงเตียงออกแล้วโรยเบกกิ้งโซดาไว้เป็นชั้นๆ ให้ทั่วทั้งที่นอน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เบกกิ้งโซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต) จะดึงสิ่งสกปรก ความชื้น และกลิ่นออกจากพื้นผิวผ้าและวัสดุด้านล่าง (ผ้าขนสัตว์ ผ้าฝ้าย และน้ำยาง) ทำให้กลิ่นไม่พึงประสงค์จางลง

ที่นอน BUBBLE ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ซื้อได้ที่ไหน

ปัจจุบันมีที่นอนยางพาราขายอยู่ตามท้องตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ที่นอน BUBBLE ถือว่าตอบโจทย์และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพจริง ใช้แล้วดี ไม่ปวดเมื่อย เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ด้วยคุณสมบัติล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เลือกซื้อได้ง่ายๆ ในราคาที่เป็นมิตรภาพ ยิ่งซื้อยิ่งคุ้มกับราคา ติดต่อเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เบาะพลิกตัว ป้องกันแผลกดทับ ตัวช่วยให้สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง

เบาะพลิกตัวรูปตัว “E” ล๊อคขาผู้ป่วย พลิกตัวง่าย เบาแรง สะดวก ปลอดภัย ลดการใชอุปกรณ์เสริม ผ่อนแรงผู้ดูแล ไม่เป็นแผลกดทับ ทำความสะอาดง่าย ผ้าทอกันน้ำ 100%

ปัญหาแผลกดทับ นับว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ซึ่งแผลกดทับนั้นหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการติดเชื้อของแผลกดทับได้ ดังนั้น เบาะพลิกตัว จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวที่สามารถพลิกตัวได้ไม่มากเท่าที่ควรหรือพลิกตัวไม่ได้เลย เบาะพลิกตัวเป็น นวัตกรรม เตียงพลิกตะแคงตัว ที่จะช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่ตัวผู้ป่วยเองก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเองเช่นกัน

แผลกดทับคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้เบาะพลิกตัว?

แผลกดทับ เป็นแผลที่เกิดจากการกดทับเป็นเวลานาน เช่น นอนท่าเดิมติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือนั่งท่าเดิมนาน ๆ เป็นต้น ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังถูกทำลายจนเกิดเนื้อตายและแผลขึ้น มักจะพบแผลกดทับได้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น

แผลเกิดทับเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลัก ๆ ของแผลกดทับนั้น แน่นอนว่าเป็นการกดทับบริเวณเดิมนาน ๆ ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ได้แก่

  • นอนติดเตียงตลอดเวลา หรือนอนท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • เคลื่อนไหวไม่ค่อยดี
  • ผอม ผิวหนังบาง ขาดน้ำและอาหาร
  • โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม

อันตรายที่เกิดจากแผลกดทับ

แผลกดทับนั้นถือว่าเป็นบาดแผลที่อันตรายหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลกดทับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งระยะแรกนั้น ที่ผิวหนังจะมีรอยแดง ใช้มือกดแล้วแต่รอยแดงนั้นไม่ได้จางหายไป ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเสียกายเป็นบางส่วน จากนั้นแผลจะเริ่มลึกถึงชั้นไขมัน ทำให้สูญเสียผิวหนังทั้งหมด หรือผิวหนังตาย ท้ายที่สุดก็จะอาจจะส่งผลให้แผลลึกเห็นถึงกระดูกได้

อาการของแผลกดทับ

อวัยวะที่เสี่ยงเกิดแผลกดทับได้มากนั้นมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากและต้องรับแรงกดทับโดยตรง ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ ส่วนผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นเวลานานเสี่ยงเกิดแผลกดทับที่ก้น หลังแขน หลังต้นขา หรือด้านหลังของกระดูกสะโพก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง ได้แก่ สีหรือลักษณะผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวม มีหนองออกมา เกิดอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ ทั้งนี้ อาการของแผลกดทับจะรุนแรงขึ้นตามระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะที่ 1 แผลกดทับระยะนี้จะไม่เปิดออก มีลักษณะอุ่น นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและระคายเคือง ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ผู้ที่มีผิวขาวอาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ที่มีผิวเข้มอาจเกิดสีเขียวอมม่วง เมื่อกดลงไปบนแผล แผลจะไม่กลายเป็นสีขาว

ระยะที่ 2 แผลกดทับระยะนี้เป็นแผลเปิดหรือมีแผลตุ่มน้ำพอง เนื่องจากหนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากขึ้น

ระยะที่ 3 แผลจะมีลักษณะเป็นโพรงลึก ซึ่งอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกไป รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย

ระยะที่ 4 แผลกดทับระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด โดยผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายอย่างรุนแรง รวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตายหรือที่เรียกว่าเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis) กล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปอาจถูกทำลายด้วย

การรักษาแผลกดทับ

การรักษาแผลกดทับนั้น มีวิธีการที่หลากหลาย โดยหัวใจสำคัญของการรักษานั้น คือการลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับเป็นเวลานาน ซึ่งวิธีการรักษานั้น ได้แก่

  1. ลดแรงกดทับ โดยปกติแล้วนั้น ผู้ดูแลมักจะมีตารางเวลาในการพลิกตะแคงผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นเวลา โดยการจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคง ควรจะท่าให้นอนที่ 30-45 องศา และใช้หมอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา
  2. ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
  3. การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
  4. การผ่าตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำความสะอาดแผลและตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป
  5. ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยอาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
  6. ครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับทารักษา ช่วยให้แผลหายไวขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่ออื่นถูกทำลาย
  7. การดูแลอื่น ๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด โภชนากร และศัลยแพทย์ตกแต่ง

ผู้ป่วยแผลกดทับอาจได้รับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ยาแก้ปวดเฉพาะที่ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดเฉพาะที่หรือยาบรรเทาอาการปวดที่ไม่ผสมสารสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน
  • อาหารเสริม แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โปรตีน สังกะสี และวิตามิน เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับที่ผิวหนังได้ง่าย
  • การผ่าตัด ผู้ป่วยแผลกดทับที่รักษาแผลให้หายไม่ได้ จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายตนเองมาปิดแผลและใส่รองกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ

ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับจนยากที่จะรักษา เบาะพลิกตัว จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทั้งผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล อีกทั้งผู้ป่วยที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่บนเตียงก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเอง ป้องกันการนอนหรือกดทับเป็นเวลานาน ๆ ในบริเวณเดิม ๆ จนเกิดแผลกดทับได้

นวัตกรรม เตียงพลิกตะแคงตัว

นวัตกรรมที่จะช่วยให้ทุกวันเป็นเรื่องที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยเบาะยางพาราแท้รูปตัวอักษร “E” ที่ช่วยล็อกขาผู้ป่วยทั้ง 2 ข้าง เพิ่มความสะดวกในการพลิกตัวผู้ป่วยลดการใช้อุปกรณ์เสริมสามารถใช้รองขา ช่วยผ่อนแรงของผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุก็สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเองอีกด้วย

เบาะพลิกตัว ป้องกันแผลกดทับ ดีอย่างไร?

  •  รูปทรงเข้าสรีระของร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุพลิกคว่ำตัว หรือนอนตะแคงได้ง่าย
  • ช่วยผ่อนแรงให้กับผู้ดูแล เบาแรง ไม่ต้องใช้ตัวช่วย
  • ปลอกเบาะพลิกตัวเป็นผ้าทอแบบพิเศษ มีความแข็งแรง ทนทาน กันน้ำได้ 100%
  • ออกแบบเพื่อดูแลผิวของผู้ป่วยติดเตียง ใช้เป็นหมอนปกป้องเข่า ข้อเท้า เป็นต้น
  •  เบาะสามารถระบายอากาได้ดีศ ไม่ร้อน, ไม่ก่อให้เกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอับชื้นทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์
  •  กระจายน้ำหนักตัวได้ดี ไม่ก่อให้เกิดแผลกดทับ
  •  ถอดซักทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
  • ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้เตียงพลิกตัวราคาแพง ก็ช่วยพลิกตัวได้ง่าย ๆ

ดูแลคนที่คุณรักด้วย เบาะพลิกตัว นวัตกรรม เตียงพลิกตะแคงตัว ผลิตด้วยยางพาราธรรมชาติ 100% ที่ออกแบบมาตามสรีระร่างกาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่สามารถพลิกตะแคงได้น้อยหรือไม่สามารถพลิกตัวได้เลย เพื่อให้ผู้ดูแลเบาแรง ไม่ต้องอุ้ม ไม่ต้องใช้ตัวช่วย เพียงแค่มีเบาะพลิกตัวรูปตัว E ก็จะสะดวกได้ยิ่งขึ้น หมดกังวลเรื่องแผลกดทับอีกต่อไป ถอดทำความสะอาดง่าย ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลบางปะกอก / โรงพยาบาลกรุงเทพ